กายภาพบำบัดด้วยอัลตราซาวด์ คืออะไร ?

backpain

กายภาพบำบัดด้วยอัลตราซาวด์ คืออะไร ?

เคยไหมเวลาเราไปคลินิคกายภาพบำบัด จะมีโปรแกรมหลายอย่างเลยที่นักกายภาพจะเลือกให้เหมาะกับเรา ไม่ว่าจะเป็นการทำอัลตราซาวด์ เลเซอร์ ประคบร้อน ประคบเย็น วารีบำบัด การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ รวมไปถึงการนวดด้วย ซึ่งวันนี้แอดมินขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ ultrasound เป็นหนึ่งในวิธียอดนิยม ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทางกายภาพบำบัด

สารบัญ: 

  1.  เกี่ยวกับ Micro massage
  2. Cavitation Effect
  3. Standing wave

อัลตราซาวด์เป็นคลื่นเสียงความถี่สูงกว่ามนุษย์ได้ยิน มีคุณสมบัติเหมือนกับคลื่นเสียงทั่วไปคือต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ผ่าน ช่วงความถี่ที่ถูกนำมาใช้ ในการบำบัดรักษา 08-3 เมกะเฮิรต์ ทำให้เกิดความร้อน (Thermal effect) และการสั่นสะเทือน (non thermal effect) ต่อเนื้อเยื่อได้ในระดับลึก 2-5 เซนติเมตรกลไกการทำใช้ reverse piezoelectric effect ผ่านผลึกควอตซ์ หรือเซรามิค ซึ่งมีคุณสมบัติ คือ เมื่อมีการสั่นสะเทือนเกิดเป็นกระแสไฟฟ้า ดังนั้นกลับกันเมื่อไฟฟ้าผ่านผลึกควอตซ์ ที่มีอยู่ในหัว transducer จึงเกิดการสั่นสะเทือนที่มีความถี่จำเพาะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนในเนื้อเยื่อที่รักษา

โดยทั่วไปความถี่ที่ใช้ในการรักษาขึ้นกับความลึกของเนื้อเยื่อที่รักษา ถ้าเป็นบริเวณที่อยู่ตื้น เช่น ข้อมือหรือ temporomandibular joint จะใช้ความถี่สูง 3 เมกะเฮิรตซ์ให้พลังงานได้ตื้น 1-2 เซนติเมตร ใต้ต่อมผิวหนัง ส่วนความถี่ต่ำกว่าจะให้พลังงานลงไปในเนื้อเยื่อได้ลึกกว่า การรักษาส่วนใหญ่ใช้ความเข้ม (intensity) 0.5-2 วัตต์ ต่อตารางเซนติเมตร ระยะเวลารักษา 5-10 นาที และต้องใช้ coupling agent เช่น เจล เป็นตัวกลาง ป้องกันการสะท้อนกลับของคลื่นในอากาศ เพื่อให้คลื่นเสียงสามารถส่งผ่านลงไปในเนื้อเยื่อบริเวณที่รักษาได้มากที่สุด

อัลตราซาวด์ทำให้อุณหภูมิบริเวณเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก สูงขึ้นได้ถึง 45 องศาเซลเซียส ดังนั้นในกรณีที่ต้องการรักษาเนื้อเยื่อที่อยู่ลึก เช่น ข้อสะโพก การใช้อัลตราซาวด์ จะได้ผลดีกว่า shortwave diathermy ผลของความร้อน (thermal effect) ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อ เพิ่มการไหลเวียนโลหิต ความเร็วนำกระแสประสาท และการทำงานเอนไซม์ ลดการอักเสบ ลดปวด
ผลอื่นนอกเหนือจากความร้อน non thermal effect ได้แก่

1. Micro massage จากการสั่นสะเทียนของโมเลกุลเนื้อเยื่อตัวกลางที่คลื่นเสียงผ่าน ช่วยกระตุ้น กระบวนการเมตาบอริซึ่ม ช่วยลดบวม เพิ่มการซึมผ่านของผนังเซลล์และหลอดเลือด กระตุ้นการ healing

2.Cavitation Effect คือการเกิดฟองอากาศหดขยายในเนื้อเยื่อ stable cavition แต่ถ้าฟองอากาศรวมตัวใหญ่ขึ้นและแตกตัว unstable cavition จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและแรงดันอย่างมาก เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ สามารถลดการเกิด cavitation นี้โดยใช้อัลตราซาวด์ ความถี่สูง ความเข้มต่ำ และเลี่ยงบริเวณเนื้อเยื่อที่มีของเหลวมาก

3. Standing wave เกิดจากการรวมกันของคลื่นเสียงในตำแหน่งรอยต่อของเนื้อเยื่อที่มีความหนาแน่น แตกต่างกันเช่น กระดูกและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพัน ทำให้บริเวณนั้นมีความร้อนสูงกว่าบริเวณอื่น การขยับหัว transducer เคลื่อนที่ไปมาระหว่างการรักษาช่วยลดการเกิด standing wave ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์

  • ขนาดของบริเวณที่จะรักษา
  • ความลึกของเนื้อเยื่อที่จะรักษา
  • ลักษณะของรอยแผล
  • ชนิดของสารตัวกลางที่ใช้
  • ประสิทธิภาพของเครื่องอัลตราซาวด์

ตัวแปรที่นำมาใช้กำหนดปริมาณของคลื่นอัลตราซาวด์

ก่อนอื่นเราควรเข้าใจลักษณะคลื่นซึ่งมี 2 ประเภทดังนั้น:

    1.  แบบต่อเนื่อง (continuous mode)
    2.  แบบมีช่วงพัก (pulse mode)

แบบต่อเนื่องทำให้เกิดความร้อนในเนื้อเยื่อ ถ้าใช้ความเข้มที่มากพอ ในขณะที่แบบมีพักช่วงในความเข้มที่เท่ากันจะให้ความร้อนน้อยกว่าแบบต่อเนื่องจะนิยมใช้ในการรักษาอาการดังนี้ musculoskeletal disorder เช่น muscle spasm,joint stiffness ลดความเจ็บปวดในภาวะต่างๆ ส่วน pulse mode นิยมใช้ในกรณี soft tissue repair

ตัวแป

ตัวแปรที่นำมาใช้กำหนดปริมาณของคลื่นอัลตราซาวด์

  • ความถี่ (frequency)

ความถี่ต่ำจะมีคลื่นผ่านเข้าไปได้ลึกกว่าความถี่สูง ดังนั้นถ้าต้องการรักษาเนื้อเยื่อที่อยู่ตื้นจึงควรเลือกความถี่สูงๆ เช่น 3MHz แต่ความถี่ต่ำจะทำให้เกิดการสะสม ความร้อนแก่เนื้อเยื่อที่อยู่ตื้นๆ

  • ความเข้ม (Intensity)

ความเข้มที่ใช้รักษาทางกายภาพบำบัด อยู่ระหว่าง 0.25 -2 w/cm ถ้าปัจจัยอื่นๆ คงที่ความเข้มมากจะให้ ความร้อนมาก

ถ้าใช้ pulse ultrasound ความเข้มจะเป็นศูนย์ในช่วง pause และจะมากที่สุดในช่วง pulse ความร้อนจึงไม่สะสมดังนั้นการใช้ pulse ultrasound ไม่ต้องเคลื่อน sound head ในขณะรักษา

  • ระยะเวลาในการรักษา

ขึ้นตามขนาดและเทคนิคการรักษา ถ้าเคลื่อน sound head มักต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น เฉลี่ยแล้ว บริเวณละประมาณ 5 นาที

  • ความบ่อยของการรักษา

    ถ้า acute leison 1-2 ครั้งต่อวัน ถ้า chronic lesion รักษาวันเว้นวัน การเปลี่ยนแปลงรักษาขึ้นกับผลการรักษา ถ้าให้การรักษาด้วย dose หนึ่งแล้วดีขึ้น ควรทำที่ dose เดิม แต่ถ้าแย่ลงให้ลด dose หรือหยุดรักษา ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงควรเพิ่ม dose

เทคนิคการรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์

1. วิธีสัมผัสโดยตรง

วิธีนี้นิยมใช้มากที่สุด เหมาะกับบริเวณที่เรียบๆ ไม่มีปุ่มกระดูก สามารถเคลื่อนหรือไม่เคลื่น sound head ก็ได้ โดยวาง sound head ให้ขนาดกับบริเวณที่รักษา ขณะรักษาควรจัดกล้ามเนื้อให้อยู่ในท่ายืด

2.วิธีแช่น้ำ

ใช้ในกรณีที่จะรักษาในบริเวณ ที่มีรูปร่างไม่เรียบ เช่น บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูก ดังนั้นเทคนิคนี้จึงเหมาะกับบริเวณ มือและเท้า

ข้อมูลเหล่านี้อ้างอิงจากหนังสือรวมเทคนิคกายภาพบำบัดที่มีประโยชน์กับทุกคนมากเลยค่ะ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องกายภาพบำบัดโดยใช้คลื่น ultrasound หรือต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมเผื่อวันข้างหน้ามีนัดทำ ultrasound กับนักกายภาพ ^^ อย่างไรก็ตาม ผลลัพท์ในแต่ละวิธีอาจจะแตกต่างกันไป เนื่องด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องสรีระ การดำเนินชีวิตประจำวันของเรา

หนึ่งในวิธีง่ายๆ ที่ง่ายๆ ได้ประโยชน์ด้านอื่นๆ และแก้ปวดเมื่อยได้เหมือนกันด้วยนั้นก็คือการเล่นพิลาทิสนั้นเอง เพราะพิลาทิสเป็นการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อทุกมัด นั้นหมายความว่ากล้ามเนื้อทุกส่วนของเราได้มีการออกกำลังกาย ได้ยืดเหยียดตลอดนั้นเอง ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ที่ปวดเมื่อย คอ บ่าไหล่ หรืออฟฟิศซึมโดรมเป็นที่สุด เพราะการฝึกพิลาทิสเป็นการแก้ไขปัญหาการปวดหลังที่ตรงจุด เพราะเนื่องจากเราทำงานนั่งหน้าคอมทุกวัน เป็นเวลานานๆ ทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนอาจไม่แข็งแรง และสุดท้ายปวดหลังทรมานไปหลายวันซึ่งกระทบการใช้ชีวิตประจำวันของเราแน่ๆ

ดังนั้นหากยังไม่เคยลองพิลาทิสแนะนำเป็นอย่างยิ่ง เราอาจจะเห็นผู้เล่นหลายคนทำท่ายากๆ ตีลังกา ฯลฯ แต่จริงๆ แล้ว อายุ 70 กว่าก็ยังเล่นพิลาทิสได้นะคะ เพราะพิลาทิสเหมาะสำหรับทุกคน ทุกท่าจะมีการปรับให้เหมาะกับสรีระและความแข็งแรงของผู้เล่น เป็นการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพไม่หักโหม ไม่บาดเจ็บแน่นอน หากอยู่ในการดูแลของครูผู้ฝึกที่มีความชำนาญด้านนี้โดยเฉพาะ

อ้างอิงข้อมูล

  • หนังสือรวมเทคนิคกายภาพบำบัด
  • การรักษาทางกายภาพบำบัดด้วยอัลตร้าซาวด์บำบัด = Therapeutic ultrasound โดย ยิ่งลักษณ์ วิรุณรัตนกิจ 2554

สนใจเล่นพิลาทิสติดต่อเราได้ที่

Line: @fiftyfiftystudio

Inbox facebook

ตอนนี้ยังมีโปรโมชั่นอยู่น้าา มีจำกัดด้วยยย อยากเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับชีวิต รีบสมัครกันเข้ามานะคะ ^^

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า