บุคคลิกภาพและความสมดุลของสรีระที่ดี สำคัญต่อสุขภาพของเราอย่างไร
“อกผายไหล่ผึ่งหน้าตรงคอตั้ง”
ประโยคที่คุ้นเคย ที่เรามักใช้เพื่อเรียกความมั่นใจ ให้เราเดินหลังตรงขึ้น มีบุคคลิกภาพที่ดี เพราะบุคคลิกภาพที่นั้นสำคัญ เป็นการทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม แต่ด้วยยุคปัจจัยโลกได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของเรามากขึ้น ดังนั้นรูปแบบการใช้ชีวิตนั้นมีความต่างจากสมัยก่อนอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์มือถือ social media ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราคุ้นชินในชีวิตประจำวัน แต่ท่าทางที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เพ่งจอคอมพิวเตอร์ เล่นโทรศัพท์เป็นเวลานาน ช่วงแรกอาจจะทำให้เราปวดบริเวณต้นคอ ถึงหลังล่างก็เป็นได้ หรือในบางกรณีหากปล่อยปัญหาเหล่านี้ทิ้งไว้นานๆ อาจทำให้เราดูเป็นคนไม่มีความมั่นใจ บุคคลิกไม่ดี ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของเราแน่ๆ หรือมากไปกว่านั้นกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้จนถึงขั้นต้องผ่าตัดเลยทีเดียว
การนั่งนานๆ หรือเล่นโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานส่งผลต่อบุคคลิกภาพของเรา เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนทำงานหนัก ผลคือเรารู้สึกมีอาการปวดตัว เมื่อยบ่าและหลัง มีอาการเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือระยะยาวบางคนอาจจะมีอาการหลังค่อม หลังแอ่น สิ่งเหล่านี้เกิดจากการที่กล้ามเนื้อของเราไม่สมดุลกัน วันนี้เราจะมาอธิบาย 4 ลักษณะโครงสร้างของร่างกายที่มีกล้ามเนื้อแบบสมดุลและไม่สมดุลอย่างละเอียดโดยแต่ละแบบส่งผลเสียต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายของเราและบุคคลิกภาพของเราอย่างไร
รูปภาพจาก: https://www.easyposturebrands.com/blogs/articles-1/5-most-common-types-of-posture-how-to-choose-your-type
เริ่มต้นด้วยการเข้าใจก่อนว่าร่างกายที่มีกล้ามเนื้อที่สมดุลกันตามหลักวิทยศาสตร์แล้วนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร โดยเบื้องต้นการวิเคราะห์หรือประเมินโครงสร้างร่างกายนั้นใช้ plumb line เป็นตัวหลักในการประเมิน Plumb line คือ เส้นตั้งตรง (vertical line) จากด้านบนลงล่าง เราสามารถใช้เครื่องมือในการแสดง plumb line หรือนึกและวัดเอาจากสายตาได้
ฝึกพิลาทิสช่วยให้โครงสร้างร่างกายที่มีกล้ามเนื้อสมดุลขึ้น (Ideal posture)
ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.brainsandbods.com/blog/12-simple-exercises-to-perfect-your-posture
คลิ๊กเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ correct posture : https://neurohealthchiro.com.au/posture-imbalances/
จากภาพจะสังเกตุได้ว่า plumb line ผ่านตรงกลางของติ่งหู หัวไหล่ กระดูกอุ้งเชิงกราน หัวเข่าและตาตุ่ม ส่วนกระดูกสันหลังด้านบนจะมความโค้งมาด้านหน้าเล็กน้อย และกระดูกสันหลังบนโค้งไปด้านหลัง และหลังล่างโค้งไปข้างหน้าเล็กน้อย ส่วนใหญ่กล้ามเนื้อที่สมดุลกัน (ideal posture) จะเรียกว่า Neutral ซึ่งเราอาจจะเคยได้ยินบ่อยตอนฝึกพิลาทิส แต่อย่างไรก็ตามบางกรณี neutral ของแต่ละบุคคลอาจต่างกันออกไป ทั้งนี้การมีโครงสร้างร่างกายที่มีกล้ามเนื้อสมดุลช่วยป้องกันการบาดเจ็บ ลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อได้ นอกจากนี้ยังทำให้บุคคลิกภาพดีขึ้น โครงสร้างร่างกายที่มีกล้ามเนื้อที่ไม่สมดุลสามารถแบ่งได้ 3 แบบ ได้แก่ Kyphosis Posture, Lordosis Posture, Sway Back posture และ Flat Back Posture
คลิ๊กเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ correct posture : https://neurohealthchiro.com.au/posture-imbalances/
สารบัญ
1.Kyphosis-Lordosis Posture หลังบริเวณด้านบนค่อม และหลังล่างแอ่น
อ้างอิงรูปภาพ: Kendall, F. P., McCreary, E. K., Provance, P. G., Crosby, R. W., Andrews, P. J., & Krause, C. (1993). Muscles, testing and function: With Posture and pain.
มีลักษณะที่เด่นชัดคือ หลังด้านบนค่อม (kyphosis) หลังล่างแอ่น (lordosis) หลังด้านบนค่อมนั้นมีลักษณะคล้ายโครงสร้างร่างกายแบบ Sway Back posture บางกรณีอาจจะมีปัญหาแค่หลังด้านบนค่อมแต่หลังล่างปกติ หรือบางคนมีปัญหาแค่หลังล่างอย่างเดียว
ส่วนมากปัญหานี้เกิดจากการนั่งหน้าคอมเป็นเวลานาน ทำให้ยื่นไปด้านหน้าเพื่อเพ่งหน้าจอกระดูกสันหลังค่อมด้านบนทำให้ส่วนกล้ามเนื้อที่หดสั้นและตึงคือ กล้ามเนื้อบริเวณ คอ (neck extensors) กล้ามเนื้อหน้าอก (pectoralis)
หลังค่อม (kyphosis) ส่วนใหญ่พบได้ใน:
- คนที่ทำงานออฟฟิศ
- ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเยอะและน่าอกใหญ่
- คนตัวสูง
ท่าออกกำลังแก้ปัญหาหลังค่อม: https://www.youtube.com/watch?v=POARdLtqQXA
โดยในวิดิโอใช้เวลาแค่ 5 นาทีในการดู เราสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำได้ค่ะ
2. Lordosis หรือ หลังล่างแอ่น
อ้างอิงรูปภาพ: Kendall, F. P., McCreary, E. K., Provance, P. G., Crosby, R. W., Andrews, P. J., & Krause, C. (1993). Muscles, testing and function: With Posture and pain.
ปัญหาหลักของหลังล่างแอ่น คือ ปวดตึงหลังล่างเป็นประจำ
ลักษณะความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ:
กล้ามเนื้อตึง: กล้ามเนื้อหลังล่าง, กล้ามเนื้อสะโพก
(hip flexor)
กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง: หน้าท้อง,กล้ามเนื้อส่วนก้นและต้นขาด้านหลัง กลุ่มกล้ามเนื้อสะโพก (hip flexor) เพราะสะโพกคว่ำไปด้านหน้า ในทางตรงกันข้ามกล้ามเนื้อบางส่วนเช่น กล้ามเนื้อหน้าท้อง นั้นยืดและอ่อนแอ
หลังล่างแอ่นส่วนใหญ่มักพบใน:
- นักเต้น
- คนท้อง
- คนอ้วน
- นักกายกรรม
ท่าออกกำลังกายสำหรับ Lordosis: https://www.youtube.com/watch?v=TAKT7HUP31Q
3.Sway Back posture หรือ หลังเอน
Sway Back นั้นมีลักษณะเหมือน Kyphosis ตรงที่หลังค่อมและไหล่ห่อ คอยื่น ตามด้านบนที่กล่าวไป แต่หลังจะไม่ค่อมมากหากเทียบกับ Kyphosis จะมองไม่ชัดเท่า
ลักษณะที่เด่นชัดของ Sway back คือ กระดูกสันหลังบนโค้ง สะโพกแอ่นมาด้านหลัง หลังล่างจากไม่โค้งมาก ดังนั้นกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง(Hamstring) ตึงและหดสั้น ตรงกันข้ามกล้ามเนื้อส่วนคอด้านหน้า (neck flexors),หลังบน กลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อสะโพกและกล้ามเนื้อหน้าท้องด้านข้าง (external oblique)นั้นอ่อนแอและยืด โดยกลุ่มคนที่มี Sway back ส่วนมากจะมีปัญหาหัวไหล่ติดและเมื่อยหัวเข่า
หลังเอน (Sway Back) พบใน:
- เด็กวัยรุ่น
- คนที่ยืนทำงานเป็นเวลานาน น้ำหนักส่วนใหญ่ไปที่ขาข้างเดียว
ท่าออกกำลังกายแก้ปัญหา sway back: https://www.youtube.com/watch?v=mPjyQ8ow4JY
ขอบคุณรูปภาพจาก: Physio Study
4.Flat Back Posture (หลังแบน)
จากภาพด้านบนเราจะเห็นว่า Ideal posture หรือ โครงร่างกายที่สมดุล กล้ามเนื้อหลังจะมีความโค้งเล็กน้อย ในทางตรงข้ามคนที่มีหลังแบน กล้ามเนื้อหลังแทบจะไม่มีความโค้งเลยตั้งแต่หลังส่วนบนจนหลังล่าง กระดูกสะโพกจะหมุนไปด้านหลัง ลักษณะดูก้นแบน
กล้ามเนื้อที่ตึงและหดสั้นคือ กล้ามเนื้อหน้าท้องและกลุ่มกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Hamstring)
กล้ามเนื้อที่อ่อนแอและยืด คือ กลุ่มกล้ามเนื้อข้อต่อสะโพก (Hip flexor)
อ้างอิงรูปภาพ: Kendall, F. P., McCreary, E. K., Provance, P. G., Crosby, R. W., Andrews, P. J., & Krause, C. (1993). Muscles, testing and function: With Posture and pain.
หลังแบน (Flat Back) ส่วนมากพบใน:
- คนที่ทำ sit up บ่อยๆ ในการออกกำลังกาย
- นักมวย
- คนที่กล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรงและกล้ามเนื้อหลังไม่แข็งแรงทรงตัวได้ไม่มาก
ท่าออกกำลังกายสำหรับ Flat back: https://www.youtube.com/watch?v=7FBvSArH5Ik
สรุปคือ การมีสรีระและท่าทางที่สมดุลนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่นใจ เพราะความมั่นใจนั้นส่งผลต่อการดำรงชีวิต โดยข้อมูลที่เสนอไปนั้นเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้เราเข้าใจลักษณะการยืนของแต่ละบุคคลิก โดยแต่ละบุคคลิกนั้นมีความไม่สมดุลของกล้ามเนื้ออย่างไร แล้วแต่ละกล้ามเนื้อนั้นมีผลกระทบต่อร่างกายเราอย่างไร ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมเราถึงรู้สึกเมื่อยกล้ามเนื้อบางจุด การที่กล้ามเนื้อไม่สมดุลนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันของเรา แต่บางกรณีอาจจะเกิดด้วยปัจจัยอื่นๆด้วย อย่างไรก็ตามการที่กล้ามเนื้อไม่สมดุลกันนั้นทำให้เกิดอาการบาดเจ็บตามร่างกาย มีอาการปวดเมื่อย นอกเหนือจากนี้ยังส่งผลต่อบุคคลิกภาพของเราอีกด้วย หนึ่งในวิธีแก้ไขกล้ามเนื้อไม่สมดุลคือ การเล่นพิลาทิสอย่างสม่ำเสมอเพราะการออกกำลังกายแบบพิลาทิสนั้นเน้นการออกกำลังกายเฉพาะส่วน หากฝึกแบบไพรเวทครูผู้ฝึกจะสามารถวิเคราะห์โครงสร้างร่างกายและออกแบบการฝึกพิลาทิสเฉพาะสำหรับแต่ละบุคคล ดังนั้นการฝึกพิลาทิสนั้นมีความเสี่ยงที่จะมีอาการบาดเจ็บน้อยมาก เพราะแต่ละคลาสออกแบบให้เหมาะกับร่างกายของเรา